ตอนที่ 1 พระราชาที่ทรงเป็นพระผู้ให้ และเป็นผู้สร้างสิ่งอันเป็นประโยชน์นานัปการมากมายแก่เราชาวไทย รวมถึงทรงส่งเสริมและเห็นคุณค่าของการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก – พระมหากษัตรย์ไทยราชวงศ์จักรีรัชกาลที่ 5
เราได้อะไรจากการไปศึกษาต่อต่างประเทศ พ่อแม่ได้อะไรจากการส่งบุตรหลานของท่านไปเรียนต่อ ณ ที่ไกลแสนไกล ห่างบ้าน ห่างอกพ่อแม่ ต้องเชิญทุกสิ่งด้วยตนเองทั้งสิ้น และทราบหรือไม่ว่าผู้ที่จุดประกายและเป็นแรงบัลดาลใจพร้อมผลักดันให้เด็กไทยได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศนั้นเริ่มต้นมาจากใคร เริ่มได้อย่างไร และมีที่มาจากที่ไหน?
วันนี้ Exit Education จะขอพระราชทานอนุญาตกล่าวอ้างอิงถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราชาวไทยตลอดกาล ทรงเสด็จพระราชดำเนินประพาสไปทั่วทุกมุมโลก ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความทันสมัยและสิ่งต่างๆที่ต่างประเทศ ในประเทศที่เจริญและพัฒนารุจหน้าไปกว่าประเทศไทยอย่างมากในหลายๆด้าน ทรงมีพระราชดำริและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลที่จะนำพาสิ่งที่เจริญและเป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทย นำกลับมาสร้าง มาพัฒนา ทรงริเริ่มโครงการต่างๆที่ยังคุณประโยชน์แก่พวกเราทั้งสิ้น ใช่แล้วค่ะ เรากำลังกล่าวถึง “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี หรือที่เราชาวไทยหลายๆคนจะเรียกพระองค์ว่า “เสด็จพ่อร.5” นั่นเอง นั่นก็ด้วยความจงรักภักดีและรู้สึกได้ว่าพระองค์เปรียบเสมือนพ่อของพวกเรานั่นเอง – เรามาทบทวนกันอีกครั้งนะคะว่า พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์นั้นที่ได้เคยทำเพื่อเราชาวสยามประเทศในอดีต ยังผลและคุณาประโยชน์นานัปการมาถึงปัจจุบัน มีอะไรบ้าง
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาส ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำเนินการเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อยทาสทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส
- การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ
- ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ
- นำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ
- การสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ
- รถลาก เริ่มมีใช้ในรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรก โดยพระยาโชฎีกราชเศรษฐี (พุก) ได้นำรถลากคันแรกของประเทศ
- รถม้า ได้เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งใช้ส่วนตัวและรับจ้าง เนื่องจากสภาพถนนมีสภาพดีขึ้น
- รถราง เริ่มมีเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยใช้ม้าลากไปตามราง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้พลังงานไฟฟ้าแทนม้า
- ดำเนินการโดยบริษัทรถรางไทยจำกัด และบริษัทไฟฟ้าสยามทุนจำกัด (ต่อมาได้เลิกกิจการรถรางไฟฟ้า เมื่อปี พ.ศ. 2511 เข้ามาใช้ในกรมหารและวังหลวง ต่อมาได้มีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าโรงแรกของประเทศไทย ขึ้น คือ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ
- ให้ตั้ง พิพิธภัณฑสถาน ขี้นครั้งแรก ในหอคองคอร์เดีย หรือ ศาลาสหทัยสมาคม (คนทั่วไปนิยมเรียกว่า หอมิวเซียม
- ให้ตั้ง กรมไปรษีย์โทรเลข ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2441 โดยได้สร้างทางสายโทรเลขสายแรกขึ้นระหว่าง
- รถยนต์ ได้นำเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงนำรถยนต์เมอร์ซิเด็ซเดมเลอร์ เข้ามาน้อมเกล้าฯ ถวายพระจุลจอมเกล้าฯ
- โรงไฟฟ้า เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2423 โดยพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้สั่งชื้อเครื่องไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ
- ทรงให้ผู้ชายเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นไว้ยาว ตัดเป็นทรงแบบฝรั่ง ผู้หญิงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกไว้ผมปึก
- ทรงตั้ง โรงพยาบาลวังหลัง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเท ศไทย ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศิริราช
- ทรงประกาศตั้งกระทรวงขึ้นอย่างเป็นทางการจำนวน 12 กระทรวง อันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงนครบาล, กระทรวงโยธาธิการ, กระทรวงธรรมการ, กระทรวงเกษตรพานิชการ, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงมรุธาธร, กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงพระคลังสมบัติ, กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า), กระทรวงกลาโหม และกระทรวงวัง
- ทรงมีพระราชนิพนธ์ถึง 10 เรื่องได้แก่ – ไกลบ้าน, เงาะป่า, นิทราชาคริต, พระราชพิธีสิบสองเดือน, กาพย์เห่เรือ, คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา, ตำรากับข้าวฝรั่ง, พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี, โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์, โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ
- ทรงตั้ง สภาอุณาโมแดง (สภากาชาด) ขึ้น โดยมีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก และคุณหญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการิณี
- ทรงสร้าง พระที่นั่งอนันตสมาคม ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อใช้เป็นท้องพระโรง และเพื่อประกอบการพระราชพิธีต่างๆตามพระราชประเพณี
- ทรงออกหนังสือสำคัญสำหรับการครอบครองที่ดินเป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า “ตราจอง” ซึ่งต่อมาเรียกว่า “โฉนด”
- เริ่ม การประปา ขึ้นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 โดยจัดตั้งสำนักงานประปาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่สะพานดำ
- ทรงสร้างวัดเบญจมบพิศ ขึ้น อันหมายถึงวัดพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยก่อสร้างด้วยหินอ่อน และใช้ศิลปลวดลายแบบไทย ให้จำลองพระพุทธชินราช จากจังหวัดพิษณุโลก ให้เป็นพระประธานในอุโบสถวัดเบญจมบพิศ
- การทำสงครามปราบฮ่อ มีทั้งหมด 4 ครั้ง และทรงปราบกบฎต่างๆให้ราบคาบอยู่หมัด
- การเสด็จประพาส — พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในยุโรปหลายครั้ง เช่น สิงคโปร์ ชวา อินเดีย พม่า มลายู รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี โปรตุเกส สเปน เป็นต้น นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงได้ เสด็จประพาสต้น เป็นการส่วนพระองค์เป็นพระองค์แรก และเป็นครั้งแรกที่ พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จออกเยี่ยมประชาชน เพื่อดูแลความเป็นอยู่อย่างใก้ลชิด โดยการเสด็จไปอย่างสามัญชน ร่วมทั้งคณะผู้ติดตามเสด็จทุกคนด้วย
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ที่ทรงทำเพื่อการศึกษาของประชาชนชาวไทย ก็คือทรงปฏิวัติการศึกษา และทางก่อตั้งโรงเรียน สถานศึกษามากมาย ยังประโยชน์และเป็นพระมาหกรุณาธิคุณอย่างเป็นล้นพ้นหาที่เปรียบมิได้อย่างแท้จริง
จุดมุ่งหมายประการแรกของการปฏิรูปการศึกษาของรัชกาลที่ 5 คือ เพื่อฝึกหัดคนเข้ารับราชการ จึงได้ก่อตั้ง “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 จำนวนนักเรียนเมื่อแรกมีเพียง 10 คน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์
– พ.ศ. 2425 ได้ก่อตั้ง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เพื่อขยายการฝึกหัดคนเข้ารับราชการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นโรงเรียนผลิตข้าราชการสำหรับทุกกระทรวงทบวงกรม ไม่จำกัดเฉพาะทหารมหาดเล็ก หลักสูตรที่เรียนใช้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
– พ.ศ. 2427 ได้ก่อตั้ง โรงเรียนวัดมหรรณพาราม เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าศึกษาหาความรู้ตามหลักสูตรแผนใหม่ นับเป็น โรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดให้บุคคลสามัญทั่วไปได้เข้ารับการศึกษาอบรม อย่างทัดเทียมกันเริ่มมีแบบเรียนใช้ในโรงเรียนเป็นครั้งแรก โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งหนังสือเรียน 6 เล่ม คือ มูลบทบรรพกิจ วาหนิต์นิกร อักษรประโยค สังคโยคพิธาน ไวพจน์-พิจารณ์ และพิศาลการันต์ ขึ้นใช้ในโรงเรียนทุกแห่ง
– พ.ศ. 2442 ได้มีการก่อตั้ง โรงเรียนเชลยศักดิ์ (โรงเรียนราษฎร์) ขึ้น คือ โรงเรียนเซ็นต์โยเวฟคอนแวนต์ และ โรงเรียนบำรุงวิชา
– ได้มีการจัดตั้ง กองทุนคิงสกอลาซิป ขึ้น เพื่อจัดการสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง โดยส่งไปศึกษายังทวีปยุโรป และอเมริกา
– ในการพัฒนาด้านการศึกษา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นแบบแผนสมัยใหม่ นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังเป็นผู้เชียวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย”
– มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาสำหรับสงฆ์ขึ้น คือ มหาธาตุวิทยาลัย โดยจัดตั้งขึ้นที่วัดมหาธาตุ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาของสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
– มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาสำหรับสงฆ์ขึ้น คือ มหามกุฎราชวิทยาลัย ขี้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยกรมกระยาวชิรญาณวโรรส เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาของสงฆ์นิกายธรรมยุติ
– โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นเป็นภาษาไทยเรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ”
วัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างมี 7 วัด ดังนี้
- วัดเทพศิรินทราวาส
- วัดราชาธิวาส
- วัดราชบพิธ
- วัดเบญจมบพิตร
- วัดนิเวศธรรมประวัติ
- วัดอัษฎาคนิมิตร
- วัดจุฑาทัศธรรมสภาราม
[space height=”15″]
สถานศึกษาชั้นสูงทางศาสนาที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างมี 2 แห่งคือ
- มหามกุฏราชวิทยาลัย
- มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
จากรายการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ใครหลายๆคงจะเคยได้ยินกันคุ้นหู และทราบถึงประวัติของเสด็จพ่อร.5กันมาเป็นอย่างดีแล้วนะคะ ในบทความตอนหน้า ตอนที่ 2 ต่อจากตอนนี้ (เป็นตอนจบ) จะมาชี้แจงแถลงไขว่า ทำไมเราจึงเทิดทูนพระองค์ให้เป็นบิดาแห่งการศึกษาไทย และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างมาก ที่ได้ทรงมีพระราชดำริ ริเริ่มโครงการต่างๆมากมายเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาของเราชาวไทย พบกันได้ใหม่ในตอนที่ 2 ค่ะ
[column col=”1/2″]
[/column]
[column col=”1/2″]
[/column]
[space height=”HEIGHT”]
รูปภาพ : www.reurnthai.com , www.gotoknow.org
สนใจสอบถามข้อมูลศึกษาต่อต่างประเทศติดต่อ Exit Education สำนักงานกรุงเทพฯ โทร. 02 1023746-7 , สาขาเชียงใหม่ โทร. 053-141714